อิสลาม คือศาสนาของอัลลอฮฺที่อยู่บนพื้นฐานของความรู้และทางนำของพระองค์ โองการแรกของอัลกุรอานที่อัลลอฮฺประทานมายังท่านนบีมูฮำมัด(พรอันประเสริฐ และความสันติสุขจงมีแด่ท่าน) ก็ให้ความสำคัญกับกระบวนการเรียนรู้ ดังที่ อัล กุรอานกล่าวไว้ความว่า :
จง อ่านด้วยพระนามของพระผู้อภิบาลของเจ้า ผู้ทรงสร้าง * ทรงสร้างมนุษย์จากก้อนเลือด * จงอ่านเถิด และพระเจ้าของเจ้านั้นผู้ทรงกรุณายิ่ง * ผู้ทรงสอนการใช้ปากกา * ผู้ทรงสอนมนุษย์ในสิ่งที่เขาไม่รู้ (อัลอะลัก 96/1-5)
และคล้อยหลังด้วยระยะเวลาที่ไม่นานนัก อัลลอฮฺได้ประทานโองการที่สองความว่า : นูน ขอสาบานด้วยปากกาและสิ่งที่พวกเจ้าขีดเขียน (อัลกอลัม 68/1 ) เพื่อ ยืนยันว่า การอ่านและการเขียนบันทึกถือเป็นแนวทางของการสะสมและเพิ่มพูนองค์ความรู้และ ปัญญา เป็นแหล่งแห่งทางนำตลอดจนเป็นปัจจัยหลักการพัฒนาของมวลมนุษยชาติโดยแท้จริง
ด้วยเหตุดังกล่าวความรู้ที่มาจากคำวิวรณ์ (วะหฺยู) ของอัลลอฮฺถือเป็นสาระสำคัญแห่งคำสอนในอิสลาม และ อิสลามถือเป็นศาสนาที่ต่อต้านความไม่รู้หรืออวิชชา ไม่มีบทบัญญัติ คำสอนและความเชื่อใดๆ ในอิสลามที่ปราศจากฐานแห่งความรู้ กล่าวได้ว่าไม่มีมุสลิมคนใดที่มีคุณสมบัติของผู้ที่ไม่รู้ (ญาฮิล) เพราะมุสลิมทุกคนถึงแม้ว่ายังไม่สามารถยกระดับขึ้นเทียบฐานะผู้รู้ (อาลิม) แต่เขาก็ยังถูกจัดอยู่ในกลุ่มของปุถุชน (อะวาม) และเขาไม่อนุญาตให้ลดฐานะถึงระดับผู้ไม่รู้ (ญาฮิล) โดยเด็ดขาด เพราะผู้ที่ไม่รู้คือผู้ที่ไร้ซึ่งศาสนาและขาดคุณสมบัติของมนุษย์ผู้เจริญ เพราะหน้าที่หลักของมนุษย์เรืองปัญญา ควรต้องสามารถตอบคำถามปรัชญาชีวิตที่ชัดเจนในประเด็นต่างๆอาทิ ใครเป็นผู้สร้าง อะไรคือหน้าที่หลักของการมีชีวิตบนโลกนี้ และวาระสุดท้ายอันแท้จริงของมนุษย์จะเป็นเช่นไร อิสลามถือว่าความไม่รู้ในประเด็นดังกล่าวถือเป็น ญาฮิล ที่อิสลามไม่อนุญาตให้เกิดขึ้นในกลุ่มอารยชน
จง อ่านด้วยพระนามของพระผู้อภิบาลของเจ้า ผู้ทรงสร้าง * ทรงสร้างมนุษย์จากก้อนเลือด * จงอ่านเถิด และพระเจ้าของเจ้านั้นผู้ทรงกรุณายิ่ง * ผู้ทรงสอนการใช้ปากกา * ผู้ทรงสอนมนุษย์ในสิ่งที่เขาไม่รู้ (อัลอะลัก 96/1-5)
และคล้อยหลังด้วยระยะเวลาที่ไม่นานนัก อัลลอฮฺได้ประทานโองการที่สองความว่า : นูน ขอสาบานด้วยปากกาและสิ่งที่พวกเจ้าขีดเขียน (อัลกอลัม 68/1 ) เพื่อ ยืนยันว่า การอ่านและการเขียนบันทึกถือเป็นแนวทางของการสะสมและเพิ่มพูนองค์ความรู้และ ปัญญา เป็นแหล่งแห่งทางนำตลอดจนเป็นปัจจัยหลักการพัฒนาของมวลมนุษยชาติโดยแท้จริง
ด้วยเหตุดังกล่าวความรู้ที่มาจากคำวิวรณ์ (วะหฺยู) ของอัลลอฮฺถือเป็นสาระสำคัญแห่งคำสอนในอิสลาม และ อิสลามถือเป็นศาสนาที่ต่อต้านความไม่รู้หรืออวิชชา ไม่มีบทบัญญัติ คำสอนและความเชื่อใดๆ ในอิสลามที่ปราศจากฐานแห่งความรู้ กล่าวได้ว่าไม่มีมุสลิมคนใดที่มีคุณสมบัติของผู้ที่ไม่รู้ (ญาฮิล) เพราะมุสลิมทุกคนถึงแม้ว่ายังไม่สามารถยกระดับขึ้นเทียบฐานะผู้รู้ (อาลิม) แต่เขาก็ยังถูกจัดอยู่ในกลุ่มของปุถุชน (อะวาม) และเขาไม่อนุญาตให้ลดฐานะถึงระดับผู้ไม่รู้ (ญาฮิล) โดยเด็ดขาด เพราะผู้ที่ไม่รู้คือผู้ที่ไร้ซึ่งศาสนาและขาดคุณสมบัติของมนุษย์ผู้เจริญ เพราะหน้าที่หลักของมนุษย์เรืองปัญญา ควรต้องสามารถตอบคำถามปรัชญาชีวิตที่ชัดเจนในประเด็นต่างๆอาทิ ใครเป็นผู้สร้าง อะไรคือหน้าที่หลักของการมีชีวิตบนโลกนี้ และวาระสุดท้ายอันแท้จริงของมนุษย์จะเป็นเช่นไร อิสลามถือว่าความไม่รู้ในประเด็นดังกล่าวถือเป็น ญาฮิล ที่อิสลามไม่อนุญาตให้เกิดขึ้นในกลุ่มอารยชน
การจัดการศึกษาในอิสลามจึงต้อง เริ่มต้นด้วยการเรียนรู้อัลกุรอานเพื่อใช้ในการแก้ปัญหาและพัฒนาคุณภาพชีวิต ของคนในชาติ เพราะ การศึกษาในอิสลามเป็นการสร้างคนให้มีความสมบูรณ์และมีความสำเร็จตามความประ สงค์ของอัลลอฮฺ โดยให้ทุกคนสามารถปฏิบัติตนเพื่อทำหน้าที่เป็นตัวแทน (เคาะลีฟะห์) ของอัลลอฮฺ การศึกษาในอิสลามจึงเป็นการสร้างความงอกงามและความเจริญให้แก่มนุษย์ เพื่อให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ในทุกๆ ด้าน ทั้งร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา อัลกุรอานจึงเปรียบเสมือนธรรมนูญแห่งมนุษยชาติที่เพียบพร้อมด้วยทุกมาตราที่ สามารถตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์ เพื่อเป็นบรรทัดฐานในการปฏิบัติใช้สู่ความสำเร็จสูงสุดทั้งโลกนี้และโลกหน้า โดยนับตั้งแต่เริ่มแรกของการประทานอัลกุรอานจนกระทั่งปัจจุบันจวบจนวันสิ้น โลก อัลกุรอานไม่เคยมีการสังคายนา แก้ไข ตัดตอนหรือเพิ่มเติมส่วนใดส่วนหนึ่งแม้เพียงพยัญชนะเดียว
การ ศึกษาในอิสลามจึงเป็นการศึกษาที่พยายามสร้างจิตสำนึกของความเป็นคนที่ยอม ศิโรราบภายใต้อำนาจอันไร้ขอบเขตของอัลลอฮฺผู้ทรงสร้างทุกสรรพสิ่ง เกิดจิตวิญญาณในการเรียนรู้ รักที่จะเรียนรู้ มีความใฝ่รู้และใฝ่เรียน มีจริยธรรมอันสูงส่งที่เป็นแบบอย่างในการพัฒนาชีวิต ทั้งต่อตนเอง ครอบครัว และสังคม เป็นการศึกษาที่จะต้องรับใช้ชุมชน และฝึกให้ผู้เรียน รู้จักคิดและมุ่งรับใช้การปฏิบัติ มิใช่เพียงเพื่อความเป็นปริญญาชนหรือรองรับการขยายตัวของตลาดแรงงานอย่าง เดียว หรืออีกนัยหนึ่ง
การศึกษาในอิสลามจะให้ความสำคัญกับผู้เรียนให้มีความซาบซึ้งใน วิถีชีวิต (Way of life) ที่ มีวัตถุประสงค์สร้างบัณฑิตให้เป็นคนดีมีคุณธรรม ก่อนที่จะเชื่อมโยงให้ผู้เรียนมีความเชี่ยวชาญ และเพิ่มขีดความสามารถในการสรรหาองค์ความรู้หรือศาสตร์ที่ว่าด้วย ทักษะชีวิต (Skills of life) ที่สามารถใช้ชีวิตบนโลกนี้อย่างคุ้มค่า มีความสุข และสอดคล้องกับความต้องการของสังคมโดยแท้จริง
ดัง นั้นเกณฑ์การชี้วัดของความสำเร็จในการศึกษาตามทัศนะของอิสลามนั้นขึ้นอยู่ กับที่ผู้เรียน(ไม่ว่าจะมีฐานะการศึกษาในระดับใด) สามารถประยุกต์ใช้หลักคำสอนทางศาสนามาปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้มากน้อย เพียงใด สอดคล้องและถูกต้องตามเจตนารมณ์ของศาสนาหรือไม่อย่างไร
ปรัชญา การศึกษาในอิสลาม จึงเป็นความพยายามที่จะให้มนุษย์มีความศรัทธาในปรัชญาชีวิตที่ได้กล่าวมา ข้างต้นโดยอาศัยสติปัญญาและสัญชาติญาณอันดั้งเดิมของมนุษย์เป็นเครื่องมือใน การตัดสิน หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ปรัชญาการศึกษาในอิสลามเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่สอนให้มนุษย์รู้จักตัวเอง ก่อนที่จะทำความเข้าใจกับสิ่งรอบข้าง
การ ศึกษาในอิสลามจึงเป็นการศึกษาที่พยายามสร้างจิตสำนึกของความเป็นคนที่ยอม ศิโรราบภายใต้อำนาจอันไร้ขอบเขตของอัลลอฮฺผู้ทรงสร้างทุกสรรพสิ่ง เกิดจิตวิญญาณในการเรียนรู้ รักที่จะเรียนรู้ มีความใฝ่รู้และใฝ่เรียน มีจริยธรรมอันสูงส่งที่เป็นแบบอย่างในการพัฒนาชีวิต ทั้งต่อตนเอง ครอบครัว และสังคม เป็นการศึกษาที่จะต้องรับใช้ชุมชน และฝึกให้ผู้เรียน รู้จักคิดและมุ่งรับใช้การปฏิบัติ มิใช่เพียงเพื่อความเป็นปริญญาชนหรือรองรับการขยายตัวของตลาดแรงงานอย่าง เดียว หรืออีกนัยหนึ่ง
การศึกษาในอิสลามจะให้ความสำคัญกับผู้เรียนให้มีความซาบซึ้งใน วิถีชีวิต (Way of life) ที่ มีวัตถุประสงค์สร้างบัณฑิตให้เป็นคนดีมีคุณธรรม ก่อนที่จะเชื่อมโยงให้ผู้เรียนมีความเชี่ยวชาญ และเพิ่มขีดความสามารถในการสรรหาองค์ความรู้หรือศาสตร์ที่ว่าด้วย ทักษะชีวิต (Skills of life) ที่สามารถใช้ชีวิตบนโลกนี้อย่างคุ้มค่า มีความสุข และสอดคล้องกับความต้องการของสังคมโดยแท้จริง
ดัง นั้นเกณฑ์การชี้วัดของความสำเร็จในการศึกษาตามทัศนะของอิสลามนั้นขึ้นอยู่ กับที่ผู้เรียน(ไม่ว่าจะมีฐานะการศึกษาในระดับใด) สามารถประยุกต์ใช้หลักคำสอนทางศาสนามาปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้มากน้อย เพียงใด สอดคล้องและถูกต้องตามเจตนารมณ์ของศาสนาหรือไม่อย่างไร
ปรัชญา การศึกษาในอิสลาม จึงเป็นความพยายามที่จะให้มนุษย์มีความศรัทธาในปรัชญาชีวิตที่ได้กล่าวมา ข้างต้นโดยอาศัยสติปัญญาและสัญชาติญาณอันดั้งเดิมของมนุษย์เป็นเครื่องมือใน การตัดสิน หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ปรัชญาการศึกษาในอิสลามเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่สอนให้มนุษย์รู้จักตัวเอง ก่อนที่จะทำความเข้าใจกับสิ่งรอบข้าง
พื้นฐานอิสลามเป็นคำสอนที่มีเนื้อหาสาระที่ครอบคลุม ต่อเนื่องและบูรณาการอย่างครบวงจร ดังนั้น การศึกษาในอิสลาม จึงมีปริมณฑลและอาณาเขตที่ครอบคลุม ต่อเนื่องและบูรณาการเช่นเดียวกัน อิสลามจึงเริ่มให้การศึกษาแก่มนุษย์ตั้งแต่ช่วงเริ่มแรกของการปฏิสนธิใน ครรภ์มารดา และมีความต่อเนื่องตั้งแต่วินาทีแรกของการลืมตาดูโลกของทารกน้อย จนถึงช่วงวัยเด็ก เยาวชน วัยทำงาน วัยเจริญพันธุ์ วัยสูงอายุ หรือชีวิตหลังความตาย ล้วนแล้วต้องได้รับการศึกษาในกรอบของอิสลามที่สมดุลและไม่ขาดช่วง
เนื่อง จากอิสลามเป็นศาสนาสากลที่ไม่มีเส้นแบ่งตามภูมิศาสตร์และเผ่าพันธุ์ ดังนั้นการศึกษาในอิสลามจึงมีลักษณะของความเป็นนานาชาติโดยปริยาย บนหลักการที่อิสลามกำชับให้มุสลิมทุกคนเสาะแสวงหาความรู้ และมีความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้ตลอดชีวิต ไม่ว่า ณ แหล่งใดในโลกนี้ กอปรกับอิสลามได้กำหนดให้ผู้รู้ทุกคนมีหน้าที่ที่จะต้องถ่ายทอดความรู้แก่ ผู้ใฝ่รู้ โดยไม่หวังผลตอบแทนใดๆ ทั้งสิ้น เว้นแต่มุ่งปฏิบัติหน้าที่ในฐานะบ่าวที่ยำเกรงต่ออัลลอฮฺเท่านั้น
เนื่อง จากอิสลามเป็นศาสนาสากลที่ไม่มีเส้นแบ่งตามภูมิศาสตร์และเผ่าพันธุ์ ดังนั้นการศึกษาในอิสลามจึงมีลักษณะของความเป็นนานาชาติโดยปริยาย บนหลักการที่อิสลามกำชับให้มุสลิมทุกคนเสาะแสวงหาความรู้ และมีความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้ตลอดชีวิต ไม่ว่า ณ แหล่งใดในโลกนี้ กอปรกับอิสลามได้กำหนดให้ผู้รู้ทุกคนมีหน้าที่ที่จะต้องถ่ายทอดความรู้แก่ ผู้ใฝ่รู้ โดยไม่หวังผลตอบแทนใดๆ ทั้งสิ้น เว้นแต่มุ่งปฏิบัติหน้าที่ในฐานะบ่าวที่ยำเกรงต่ออัลลอฮฺเท่านั้น
อ้างอิงจาก : http://www.fityatulhaq.net/forum/index.php?topic=178.0
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น